หน่วยที่ 6


หน่วยที่ 6 การใช้คอมพิวเตอร์ในงานด้านการตลาด

ระบบสารสนเทศทางการตลาด
Laudon and Laudon  ได้ให้นิยามว่า  ระบบสารสนเทศทางการตลาด  หมายถึง  ระบบที่ใช้สนับสนุนกิจกรรมของหน้าที่งานด้านการขายและการตลาด
คอตเลอร์ได้ให้นิยามไว้ว่า  ระบบสารสนเทศทางการตลาด  หมายถึง  ระบบที่ประกอบด้วยคน  เครื่องมืออุปกรณ์และกระบวนการเก็บรวบรวม  จำแนกแยกประเภทวิเคราะห์ประเมิน  ตลอดจนการแจกจ่ายสารสนเทศที่ถูกต้องแม่นยำ  ทันเวลาและตรงตามความต้องการ  มีระบบย้่อย  ดังนี้
ระบบระเบียนข้อมูลในกิจการ
ระบบอัจฉริยะทางการตลาด
ระบบวิจัยการตลาด
ระบบสนับสนุนการตัดสินใจทางการตลาด
ระบบพยากรณ์ยอดขาย

หลักการตลาด
  1.  ความหมาย
คอตเลอร์และอาร์มสตรองได้ให้นิยามว่าการตลาด  หมายถึง  กระบานการทางสังคมและการจัดการที่มุ่งเสนอถึงความจำเป็น  และความต้องการให้กับบุคคลและกลุ่มต่าง ๆ โดยอาศัยการสร้างสรรค์  รวมทั้งการแลกเปลี่ยนคุณค่าและผลิตภัณฑ์ให้กับผู้อื่น
สรุปได้ว่า  ปัจจุบันองค์การธุรกิจมีการใช้ปรัชญาทางการตลาด  2 แนวทาง  คือปรัชญาด้านการตลาดและปรัชญาด้านการตลาดเพื่อสังคม  ซึ่งประกอบด้วยหลักการ  3 ข้อ  ดังนี้
จะต้องมีการตอบสนอง  และสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า
จะต้องมีการบูรณาการและความร่วมมือของทุกฝ่ายในองค์การ
จะต้องมีการมุ่งเน้นไปที่ผลสำเร็จในระยะยาว  และการให้ความสำคัญกับการจงรักภักดีของลูกค้าที่มีต่อองค์การ

 2.  องค์ประกอบทางการตลาด
2.1  การแลกเปลี่ยนทางการตลาด
2.2  กลยุทธ์ทางการตลาด
2.3  กิจกรรมทางการตลาด
2.4  จำแหน่งงานทางการตลาด
2.5  สถาบันทางการตลาด

 3.  การส่งมอบคุณค่าเพื่อลูกค้า
3.1  การเลือกคุณค่าในส่วนนี้ต้องทำการวิเคราะห์เพื่อทำความเข้าใจถึงความจำเป็นของลูกค้า
3.2  การจัดหาคุณค่า  ในส่วนนี้องค์การต้องอาศัยกระบวนการพัฒนาส่วนประสมการตลาดในส่วนของผลิตภัณฑ์  ราคา  และช่องทางการจำหน่าย
3.3  การสื่อสารคุณค่า  ในส่วนนี้องค์การต้องอาศัยกระบวนการพัฒนาส่วนประสมทางการตลาดในส่วนการการสื่อสารการตลาดเข้าช่วย  เพื่อสื่อสารถึงข้อดีของผลิตภัณฑ์
4.  บทบาททางการตลาด
4.1  ช่วยแก้ปัญหาด้านผลการดำเนินงานขององค์การที่ประสบภาวะขาดทุน  โดยดำเนินโปรแกรมการตลาด
4.2  ช่วยแก้ปัญหาด้านการครอบครองส่วนแบ่งตลาดที่เพิ่มขึ้น  โดยมีแนวโน้มของการควบรวมบริษัทต่าง ๆ เข้าด้วยกัน
4.3  ช่วยให้พนักงานที่มีพื้นฐานและประสบการณ์ทางการตลาดประสบผลสำเร็จและมีความก้าวหน้าในอาชีพในฐานะผู้บริหารระดับสูงของกิจการ

สารสนเทศทางการตลาด
           1.  ความหมาย
สารสนเทศทางการตลาด  หมายถึง  สารสนเทศที่ได้จากการประมาลผลของระบบสารสนเทศทางการตลาด  ซึ่งต้องอาศัยข้อมูลและสารสนเทศทั้งจากภายในและภายนอกองค์การ  โดยใช้กิจกรรมสนับสนุนทางการตลาดทั้งในส่วนของการพัฒนาผลิตภัณฑ์การจัดจำหน่าย  การตั้งราคาผลิตภัณฑ์  การตัดสินใจทางการตลาด  การสื่อสารทางการตลาด  และการพยากรณ์ยอดขาย
 2.  ประเภท
2.1  สารสนเทศเชิงปฏิบัติ  ได้รับจากการปฏิบัติงานด้านการตลาดเพื่อสร้างยอดขายของธุรกิจ
2.1.1  สารสานเทศด้านลูกค้า
2.1.2  สารสนเทศด้านการขาย
2.1.3  สารสนเทศด้านสินค้า
2.2  สารสนเทศเชิงบริหาร  ใช้สนับสนุนงานการบริหารการตลาด  และการพัฒนาส่วนประสมทางการตลาด
2.2.1  สารสนเทศด้านพัฒนา
2.2.2  สารสนเทศด้านการสื่อสารด้านการตลาด
2.2.3  สารสนเทศด้านการตั้งราคาสินค้าหรือบริการ
2.2.4  สารสนเทศด้านการพยากรณ์ยอดขาย
2.3  สารสนทเศภายนอกองค์การ  ได้มาจากการะบวนการเก็บรวบรวมข้อมูลจากสภาพแวดล้อมภายนอก
2.3.1  สารสนเทศด้านการวิจัยตลาด
2.3.2  สารสนเทศด้านข่าวกรองทางการตลาด

กระบวนการทางธุรกิจของระบบสารสนเทศ
  1.  ระบบระเบียนข้อมูลในกิจการ  คือระบบการบันทึกข้อมูลพื้นฐานในองค์การซึ่งนำมาใช้กับการดำเนินกิจกรรมทางการตลาด  เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า
2.  ระบบอัจฉริยะทางการตลาด  คือระบบที่พัฒนาขึ้นเพื่อรวบรวมข่าวกรองทางการตลาด  ที่เกี่ยวข้องกับคู่เเข่งและสภาพแวดล้อมทางการตลาด  เพื่อนำมาตัดสินใจทางกลยุทธ์  และประเมินสถานการณ์ทางการแข่งขัน
3.  ระบบวิจัยการตลาด  คือระบบที่พัฒนาขึ้นเพื่อใช้สนับสนุนด้านการวิจัยการตลาด  ดดยการเก็บรวบรวมข้อมูลที่ต้องศึกษาอย่างเป็นทางการในสถานการณ์ที่เฉพาะเจาะจง
 4.  ระบบสนับสนุนการตัดสินใจทางการตลาด  คอตเลอร์ได้นิยามไว้ว่าการนำเอาซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์มาใช้ในการเก็บข้อมูล  วางระบบโดยการประสานกันของเครื่องมือทา
สถิติ  ตัวแบบและเทคนิคเชิงปริมาณ  เพื่อช่วยให้องค์การสามารถเก็บรรวบรวม  เพื่อใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานของการดำเนินการด้านการตลาดต่อไป

เทคโนโลยีทางการตลาด
  1.  โปรแกรมสำเร็จรูปด้านการตลาด  คือซอฟต์แวร์เชิงพณิชย์ประเภทหนึ่งที่วางขายอยู่ในตลาดซอฟต์แวร์  ถูกพัฒนาขึ้นใช้เฉพาะงานด้านการตลาด  และจำเป็นต้องใช้ร่วมกับระบบจัดการฐานข้อมูล  เพื่อสร้างระบบจัดเก็บข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ
1.1  โปรแกรมสำเร็จรูปด้านการขาย  ต้องอาศัยการทำงานร่วมกันของฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ระบบการขายและรับชำระเงิน
1.2  โปรแกรมจัดการลูกค้าสัมพันธ์  คือโปรแกรมที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อใช้เก็บข้อมูลเกี่ยวกับลูกค้าที่นำมาซึ่งการสร้างความสัมพันธ์เชิงธุรกิจกับลูกค้าในระยะยาว  วัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับองค์การ
1.3  โปรแกรมบริหารการขนส่ง  คือการจัดการขนส่งเพื่อส่งมอบสินค้าหรือบริการให้ถึงมือลูกค้า
2.  นวัตกรรมด้านร้านค้าปลีก  ปัจจุบันมีการจัดร้านค้าปลีกรูปแบบใหม่โดยมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วยอำนวยความสะดวกด้านการเลทอกซื้อสินค้า  การตรวจสอบและรับชำระค่าสินค้า  ซึ่งเป็นการลดกระบวนการซื้อและลดระยะเวลาการรอคอย
3.  หน่วยขายอัตโนมัติ  เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการขายของพนักงานขาย  โดยอยู่ในรูปแบบของการใช้มือถือเคลื่อนที่ที่สามารถเข้าถึงข้อมูลในฐานข้อมูลของบริษัทได้
4.  การใช้งานอินทราเน็ต  โดยใช้ในการควบคุมและติดต่อประสานงานในส่วนกิจกรรมขาย  นอกจากนี้ยังสามารถตรวจสอบคำสั่งซื้อของลูกค้า  ข้อมูลการจัดส่งสินค้าและรับชำระเงินตลอดจนเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการขายผ่านอินทราเน็ตด้วย
5.  การใช้งานอินเทอร์เน็ต  ลูกค้าสามารถสั่งซื้อสินค้าบนเว็บ  โดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ณ ที่บ้าน  หรือสำนักงานของลูกค้า  โดยไม่จำเป็นต้องใช้พนักงานขาย
5.1  การพณิชย์อิเล็กทรอนิกส์  ด้วยการนำเสนอสินค้าหรือบริการแก่ลูกค้าด้วยระบบดิจิตอลแลละยังเพิ่มเปอร์เซ็นต์การขายผลิตภัณฑ์จากผลิตภัณฑ์ปรกติ
5.2  การสื่อสารการตลาด  สามารถเข้าถึงคนจำนวนมากด้วยวิธีการง่าย ๆ และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพด้านการสื่อสาร  เพื่อใช้ส่งข่าวสารต่อลูกค้าในเชิงโต้ตอบ
5.3  การโฆษณาออนไลน์  เพื่อโฆษณาและขายผลิตภัณฑ์  ผลดีคือช่วยลดค่าใช้จ่าย
5.4  การอีเมล์  มีการรับส่งข่าวสารที่รวดเร็ว  ต้นทุนต่ำ
5.5  ตลาดอิเล็กทรอนิกส์  เป็นแหล่งรวมของผู้ต้องการซื้อและผู้ต้องการขาย  มีจุดมุ่งหมายที่สอดคล้องกัน
5.6  การพาณิชย์แบบเคลื่อนที่เป็นรูปแบบหนึ่งของระบบส่งเสริมการขายของธุรกิจที่พกพาอุปกรณ์สื่อสารเข้ามา ณ บริเวณใกล้เคียงกับสำนักงานของบริษัท
5.7  การพาณิชย์แบบร่วมมือ  ทันสมัยที่สุด  และเปิดโอกาสให้หลายกิจกรรมทำงานร่วมกันแบบออนไลน์เพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย  ก่อให้เกิดรายได้
 6.  การทำเหมืองข้อมูลทางการตลาด  การทำข้อมูลโกดังร่วมกับข้อมูลสารสนเทศทางการตลาด  จะช่วยสร้างชุดเครื่องมือปรับการปฏิบัติการดีเลิศ  สำหรับงานด้านการขายและการตลาด  สร้างข้อได้เปรียบทางการแข่งขันให้ธุรกิจ  สามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ให้แก่ธุรกิจ

เอกสารทางด้านการตลาด
การจัดทำใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป  
1.   ผู้ประกอบการจดทะเบียนโดยทั่วไป มีหน้าที่ต้องออกใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป ให้แก่ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ ซึ่งใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปจะต้องมีรายการอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (มาตรา 86/4)
          (1)   คำว่า “ใบกำกับภาษี”
          (2)   เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ขายสินค้าหรือให้บริการ
          (3)   ชื่อ ที่อยู่ ของผู้ขายสินค้าหรือให้บริการ
          (4)   ชื่อ ที่อยู่ ของผู้ซื้อสินค้าหรือรับบริการ
          (5)   หมายเลขลำดับของใบกำกับภาษีและหมายเลขลำดับของเล่ม (ถ้ามี)
(6)   วัน เดือน ปี ที่ออกใบกำกับภาษี
          (7)   ชื่อ ชนิด ประเภท ปริมาณและมูลค่าของสินค้าหรือของบริการ
          (8)   จำนวนภาษีมูลค่าเพิ่มที่คำนวณจากมูลค่าของสินค้าหรือของบริการ โดยให้แยกออกจากมูลค่าของสินค้าหรือของบริการให้ชัดแจ้ง

กรณีที่มีการขายสินค้าเป็นเงินเชื่อ และผู้ประกอบการจดทะเบียนได้ออกใบกำกับภาษี / ใบส่งของ อยู่ในฉบับเดียวกัน โดยส่งมอบสำเนาใบกำกับภาษี / ใบส่งของให้กับผู้ซื้อพร้อมกับการส่งมอบสินค้า ส่วนต้นฉบับของใบกำกับภาษี / ใบส่งของ จะส่งมอบให้กับผู้ซื้อต่อเมื่อได้รับชำระราคาค่าสินค้า กรณีนี้ถือว่ามิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งกำหนดให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนต้องส่งมอบต้นฉบับของใบกำกับภาษี (เอกสารฉบับแรก) ให้กับผู้ซื้อเมื่อมีการส่งมอบสินค้า
สำเนาใบกำกับภาษี/ใบส่งของที่ผู้ซื้อได้รับ ผู้ซื้อจะนำไปใช้เป็นหลักฐานในการขอหักภาษีซื้อไม่ได้
ในทางปฏิบัติ หากผู้ประกอบการต้องการเก็บต้นฉบับใบส่งของไว้เพื่อเป็นหลักฐานในการฟ้องคดีกรณีผู้ซื้อไม่ชำระราคาค่าสินค้า ผู้ประกอบการควรออกใบกำกับภาษีแยกต่างหากจากใบส่งของและส่งมอบต้นฉบับใบกำกับภาษี พร้อมทั้งสำเนาใบส่งของให้กับผู้ซื้อเมื่อมีการส่งมอบสินค้า โดยเก็บต้นฉบับใบส่งของไว้เพื่อเป็นหลักประกันในการชำระหนี้ หรือเพื่อความสะดวก ผู้ประกอบการอาจออกใบกำกับภาษีและใบส่งของอยู่ในเอกสารชุดเดียวกัน โดยถือปฏิบัติตามข้อกำหนดเกี่ยวกับการออกใบกำกับภาษีแบบเป็นชุด ก็ได้
2.   ใบกำกับภาษีที่มีลักษณะเป็นแบบเอกสารออกเป็นชุด ในกรณีที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนมีความประสงค์จะออกใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปรวมกับเอกสารการค้าอื่น เช่น ใบเสร็จรับเงิน ใบส่งของ ใบแจ้งหนี้ ซึ่งมีจำนวนหลายฉบับในชุดเดียวกัน และใบกำกับภาษีไม่ใช่เอกสารฉบับแรก ให้ปฏิบัติดังต่อไปนี้
 (1)   ในเอกสารฉบับแรกของเอกสารชุดดังกล่าว หรือในเอกสารฉบับอื่นที่มิใช่ฉบับแรก แต่เป็นต้นฉบับของเอกสารฉบับอื่นใดก็ตาม ซึ่งมิใช่ฉบับที่เป็นใบกำกับภาษี จะต้องมีข้อความว่า “ไม่ใช่ใบกำกับภาษี” ไว้ในเอกสารฉบับนั้นด้วย
 (2)   ในเอกสารทุกฉบับของเอกสารชุดดังกล่าว จะต้องมีข้อความว่า “เอกสารออกเป็นชุด” ไว้ด้วย
 (3)   ในเอกสารฉบับที่ถือว่าเป็นสำเนาของเอกสารฉบับอื่นจะต้องมีข้อความว่า “สำเนา” ไว้ทุกฉบับ
 ข้อความตาม (1) ถึง (3) ดังกล่าวข้างต้น จะต้องตีพิมพ์ขึ้นหรือจัดทำขึ้นด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ในกรณีจัดทำใบกำกับภาษีขึ้นด้วยระบบคอมพิวเตอร์ทั้งฉบับ จะประทับด้วยตรายาง เขียนด้วยหมึก พิมพ์ดีด หรือกระทำให้ปรากฏขึ้นด้วยวิธีการอื่นในลักษณะทำนองเดียวกันไม่ได้
 3.   กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนมีสถานประกอบการหลายแห่ง และสถานประกอบการที่มิใช่สำนักงานใหญ่ได้นำใบกำกับภาษีของสถานประกอบการที่เป็นสำนักงานใหญ่ไปส่งมอบให้แก่ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการทุกครั้งที่มีการขายสินค้าหรือการให้บริการ จะต้องมีข้อความว่า “สาขาที่ออกใบกำกับคือ…..” ไว้ในใบกำกับภาษีดังกล่าว โดยข้อความดังกล่าวจะตีพิมพ์ จัดทำขึ้นด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ประทับด้วยตรายางเขียนด้วยหมึก พิมพ์ดีด หรือทำให้ปรากฏขึ้นด้วย วิธีการอื่นใดในลักษณะทำนองเดียวกันก็ได้
4.   กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียน ซึ่งประกอบกิจการสถานบริการน้ำมัน ได้ขายน้ำมันเชื้อเพลิงหรือได้ขายสินค้าหรือบริการที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับรถยนต์ ที่ต้องจดทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ จะต้องระบุ “เลขทะเบียนรถยนต์” ไว้ในใบกำกับภาษี โดยข้อความดังกล่าวจะตีพิมพ์ จัดทำขึ้นด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ประทับด้วยตรายาง เขียนด้วยหมึก พิมพ์ดีด หรือทำให้ปรากฏขึ้นด้วย วิธีการอื่นใดในลักษณะทำนองเดียวกันก็ได้
 5.   กรณีของการฝากขายสินค้าตามสัญญาการตั้งตัวแทนเพื่อขายสินค้า ซึ่งตัวการและตัวแทนเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 10 หรือร้อยละ 0 และทำสัญญาตั้งตัวแทนเพื่อขายสินค้า โดยตัวการได้ส่งมอบสัญญาให้แก่เจ้าพนักงานสรรพากรภายใน 15 วันนับแต่วันทำสัญญาตั้งตัวแทน เมื่อตัวแทนได้ขายสินค้าให้กับผู้ซื้อ ตัวแทนต้องออกใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปในนามของตัวการ โดยตัวแทนต้องระบุชื่อ ที่อยู่และเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของตัวแทนด้วย
 6.   กรณีได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากร ให้ออกใบกำกับภาษีเป็นหน่วยเงินตราต่างประเทศ จะต้องระบุอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศเป็นเงินตราไทยไว้ในใบกำกับภาษี โดยอัตราแลกเปลี่ยนดังกล่าว จะต้องตีพิมพ์ จัดทำขึ้นด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ประทับด้วยตรายาง เขียนด้วยหมึก พิมพ์ดีด หรือวิธีการอื่นใดในลักษณะทำนองเดียวกันก็ได้ (อัตราแลกเปลี่ยน ให้ใช้อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราตามหลักเกณฑ์ตามมาตรา 79/4 แห่งประมวลรัษฎากร ในกรณีที่ไม่สามารถคำนวณอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศเป็นเงินตราไทยตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวได้ ให้ใช้อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราตามมาตรา 9 แห่งประมวลรัษฎากร)

การประมาณการยอดขาย
การพยากรณ์ คือ การประมาณ หรือ การคาดคะเนว่าอะไรจะเกิดขึ้นในอนาคต เช่น การพยากรณ์ยอดขายของ 3 ปีข้างหน้า การพยากรณ์มีบทบาทสำคัญกับทุกด้าน ทั้งหน่วยงานของรัฐบาล และเอกชน รัฐ
บาลต้องประมาณ หรือ พยากรณ์รายได้ รายจ่ายในปีหน้า เพื่อนำมาวางแผน เอกชนต้องพยากรณ์ยอด
ขาย เพื่อนำมาวางแผนการผลิต สินค้าคงคลัง แรงงาน ฯลฯ
การพยากรณ์แบ่งได้ 2 ประเภท

การพยากรณ์เชิงคุณภาพ (Qualitative methods)
การพยากรณ์เชิงปริมาณ (Quantitative methods) เป็นการพยากรณ์ที่ใช้ข้อมูลเชิงปริมาณ (ตัวเลข) ใน
อดีตเพื่อนำมาพยากรณ์ค่าในอนาคต โดยสร้างตัวแบบทางคณิตศาสตร์ การพยากรณ์ประเภทนี้แบ่ง
ออกเป็น 2 เทคนิคย่อย คือ
1) การพยากรณ์ความสัมพันธ์ (Casual Forecasting)  เป็นเทคนิคที่ใช้ปัจจัยที่คาดว่าจะมีความสัมพันธ์
กับตัวแปรที่จะพยากรณ์ เช่น ถ้าต้องการพยากรณ์ยอดขาย จะพิจารณาหาความสัมพันธ์ระหว่างยอด
ขายกับค่าโฆษณา รายได้ของประชากร สภาพสินค้า ฯลฯ การหาความสัมพันธ์ดังกล่าวจะใช้เทคนิคที่
เรียกว่า การวิเคราะห์ความถดถอย และสหสัมพันธ์
2)  การพยากรณ์อนุกรมเวลา (Time series Forecasting) เป็นเทคนิคที่ใช้เฉพาะข้อมูลในอดีตของตัว
แปรที่ต้องการพยากรณ์ เพื่อพยากรณ์ค่าของตัวแปรนั้นในอนาคต เช่น ใช้ข้อมูลยอดขายปี 2530-2541
เพื่อพยากรณ์ยอดขายปี 2542
การพยากรณ์เชิงคุณภาพ (Qualitative Methods)
เป็นการพยากรณ์ที่ใช้ผู้ที่มีประสบการณ์ ความรู้ ความสามารถ เป็นผู้พยากรณ์ โดยไม่ใช้ตัวแบบทาง
คณิตศาสตร์ จึงตรวจสอบความแม่นยำของการพยากรณ์ได้ยากกว่าการพยากรณ์เชิงปริมาณ การ
พยากรณ์เชิงคุณภาพประกอบด้วย
1) การคาดคะเน หรือ ประมาณการ (Judgement) วิธีนี้มักใช้กับธุรกิจขนาดเล็กที่มีเจ้าของคนเดียว
หรือหน่วยงานขนาดเล็กที่หัวหน้ามีอำนาจเต็ม เจ้าของหรือหัวหน้างานจะคาดการณ์ยอดขาย หรือ
สิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต โดยอาศัยประสบการณ์ที่ทำงานในด้านนั้นๆ มาเป็นระยะเวลานานพอ
2) การระดมความคิด (Jury of Executive Operation) วิธีนี้เป็นการระดมความคิด หรือประชุมกลุ่มผู้
บริหารของบริษัท เช่น ประชุมคณะกรรมการบริหาร เพื่อให้ทุกคนออกความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่
จะเกิดในอนาคต เช่น ยอดขายปีหน้า จะเป็นเท่าใด ควรพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่หรือไม่  และผลสรุป
จะได้เสียงส่วนใหญ่ของการประชุม แต่วิธีนี้จะมีข้อเสียตรงที่อาจเกิดความเอนเอียง หรือ เกรงใจ
ทำให้ไม่กล้าออกความคิดเห็น ถ้าความคิดเห็นไม่ตรงกับคนอื่นๆ หรือไม่ตรงกับความคิดเห็นของ
ผู้มีอำนาจมากกว่าหรือผู้ถือหุ้นใหญ่ และมักจะเห็นด้วยกับความคิดเห็นของผู้มีอำนาจหรือผู้ถือ
หุ้นใหญ่
3) การพยากรณ์ยอดขาย (Sale Force Composite Forecasts) เป็นการพยากรณ์โดยให้แต่ละฝ่าย เช่น
ให้หัวหน้าฝ่ายขายตามภาคต่างๆ ประมาณยอดขาย แล้วนำมารวมกันทุกภาคกลายเป็นค่าพยากรณ์
ยอดขายรวมของบริษัท หรือให้ตัวแทนขายแต่ละคนประมาณยอดขายของตนเองแล้วนำมารวม
กันเป็นยอดขายรวมของบริษัท การพยากรณ์ยอดขายโดยวิธีนี้ค่อนข้างจะแม่นยำ เนื่องจากตัวแทน
ขายแต่ละคน/หน่วยจะใกล้ชิดกับลูกค้า/ตลาดมาก ทำให้คาดคะเนได้ถูกต้อง
4) พยากรณ์โดยการสำรวจตลาด ( Survey of Expectations and Anticipations) เป็นการพยากรณ์ยอด
ขายโดยทำการสำรวจลูกค้าหรือผู้ที่คาดว่าจะเป็นลูกค้าเพื่อตรวจสอบว่าในอนาคตลูกค้าต้องการ
สินค้าอะไรบ้าง จำนวนเท่าใด ด้วยการทำวิจัยตลาด ซึ่งอาจใช้การสัมภาษณ์ตัวต่อตัว โทรศัพท์
หรือจดหมาย เป็นต้น
5) การพยากรณ์ด้วยเทคนิคเดลไฟ (Delphi)  เทคนิคเดลไฟเป็นเทคนิคที่แก้ข้อเสียของวิธีระดมความ
คิด ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเอนเอียง หรือคล้อยตามผู้อื่น เทคนิคเดลไฟ จึงแก้ปัญหาโดยการไม่ให้ผู้
บริหารพบปะกัน หรือมาประชุมกัน หรือระดมความคิดเห็นกันซึ่งๆหน้า แต่จะส่งคำถามเกี่ยวกับ
สิ่งที่ต้องการพยากรณ์ให้ผู้บริหารทุกคนเขียนตอบมา พร้อมทั้งระบุเหตุผล เช่น ยอดขายปีหน้า
ควรเป็นเท่าใด ควรออกผลิตภัณฑ์ใหม่หรือไม่ เพราะเหตุใด ดังนั้น โดยวิธีนี้จะได้ความคิดเห็น
ของทุกคน และไม่มีการชี้นำ เมื่อได้คำตอบจากทุกคนแล้วให้นำมารวมกัน ซึ่งมักจะพบว่าจะมี
ความคิดเห็นที่แตกต่างกันออกไป ผู้รวบรวมจะต้องสรุป แล้วส่งกลับไปให้ผู้บริหารทุกคนเป็น
รอบที่ 2 เพื่อให้แสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม เป็นเช่นนี้ไปเรื่อยๆ จนได้ข้อสรุปเป็นหนึ่งเดียว

การคำนวณค่าคอมมิชชัน
ใช้ Excel 2007 ช่วยในการคำนวณค่าคอมมิสชัน จากการขายสินค้า


เงื่อนไขการคำนวณ
คุณมีบริษัทขายสินค้าประเภทหนึ่ง มีพนักงานขายทั้งหมด 12 คน แต่ละคนรับผิดชอบในแต่ละ เขต โดยแบ่งเป็น 2 เขต คือ กรุงเทพและต่างจังหวัด ในการจ่ายค่าตอบแทนให้พนักงาน จะจ่ายโดยมีเงื่อน ไขดังนี้
1. จ่ายเงินเดือน ตามอายุงาน ประสบการณ์ ความสามารถ
2. จ่ายเบี้ยเลี้ยง จะพิจารณาดังนี้
-ถ้าเขตที่พนักงานทำงานอยู่ในกรุงเทพจ่ายเดือนละ 2000 บาท
-ถ้าเขตที่พนักงานทำงานอยู่ในต่างจังหวัดจ่ายเดือนละ 3500 บาท
3. จ่ายค่าคอมมิสชั่น จะพิจารณาดังนี้
-ถ้ามียอดขายตั้งแต่ 1000000 บาทขึ้นไป จะให้ค่าคอมฯ 4% ของยอดขาย
-ถ้ามียอดขายตั้งแต่ 700000 บาทขึ้นไป จะให้ค่าคอมฯ 3% ของยอดขาย
-ถ้ามียอดขายตั้งแต่ 400000 บาทขึ้นไป จะให้ค่าคอมฯ 2% ของยอดขาย
-ถ้ามียอดขายตั้งแต่ 200000 บาทขึ้นไป จะให้ค่าคอมฯ 1% ของยอดขาย
-ถ้ามียอดขายน้อยกว่า 200000 บาท จะไม่จ่ายค่าคอมฯ

เริ่มต้นคำนวณ
1. คุณอาจแยกเป็นเดือนๆ แล้วค่อยสรุปภายหลัง หรืออาจจะสร้างเป็นไฟล์เทมเพลทก็ได้ โดยให้ ช่องยอดขายคือเซลล์ E3 – E14 เป็น 0 เพราะยอดขายแต่ละเดือนไม่แน่นอน
2. ส่วนเซลล์ D3 – D14, F3 – F14 และ G3 – G14 ก็คำนวณให้เรียบร้อย
3. ให้คุณป้อนข้อมูลตามตัวอย่าง ยกเว้นในเซลล์ D3 – D14, F3 – F14, และ G3 ถึง G14 ห้าม พิมพ์ข้อมูลใด ๆ เพราะต้องพิมพ์สูตร
4. การคำนวณหาเบี้ยเลี้ยงที่จะพิมพ์ในเซลล์ D3 จะใช้สูตร If
โครงสร้างของสูตร =if(เงื่อนไขที่หนึ่ง,if(เงื่อนไขที่สอง,…..))
การคำนวณเบี้ยเลี้ยงจะมีอยู่ 2 เงื่อนไขก็คือ
-ถ้าเขตที่พนักงานทำงาน อยู่ในกรุงเทพ (C3=”กทม”) จ่ายเดือนละ 2000 บาท
-ถ้าเขตที่พนักงานทำงาน อยู่ในต่างจังหวัด (C3=”ตจว”) จ่ายเดือนละ 3500 บาท
จากประโยคข้อความ เราจะมาตีความให้เป็นสูตรคำนวณ ก็จะได้ดังนี้
if(C3=”กทม”,2000
if(C3=”ตจว”,3500
5. จากนั้นก็นำสูตรทั้งสองมารวมเข้าด้วยกัน ในแต่ละเงื่อนไขให้คั่นด้วยคอมม่า วงเล็บปิดด้านท้าย ต้องสัมพันธ์กับวงเล็บเปิดด้านหน้า เช่น เปิด 2 ก็ต้องปิด 2 แล้วก็กดEnter เสร็จแล้วก็อปปี้ ไปจนถึงเซลล์ D14 ดังนี้ =if(C3=”กทม”,2000,if(C3=”ตจว”,3500))
6. การคำนวณหาค่าคอมฯในเซลล์ F3 ก็คล้ายๆ กัน ใช้สูตร If

การคำนวณจะมีอยู่ 5 เงื่อนไข
-ถ้ามียอดขายตั้งแต่ 1000000 บาทขึ้นไป (E3>=1000000) จะให้ค่าคอมฯ 4% ของยอดขาย (E3*4%)
-ถ้ามียอดขายตั้งแต่ 700000 บาทขึ้นไป (E3>=700000) จะให้ค่าคอมฯ 3% ของยอดขาย (E3*3%)
-ถ้ามียอดขายตั้งแต่ 400000 บาทขึ้นไป (E3>=400000) จะให้ค่าคอมฯ 2% ของยอดขาย (E3*2%)
-ถ้ามียอดขายตั้งแต่ 200000 บาทขึ้นไป (E3>=200000) จะให้ค่าคอมฯ 1% ของยอดขาย (E3*1%)
-ถ้ามียอดขายน้อยกว่า 200000 บาท (E3<200000) จะไม่จ่ายค่าคอมฯ (E3*0%)
จากประโยคข้อความ เราจะมาตีความให้เป็นสูตรคำนวณ ก็จะได้ดังนี้
if(E3>=1000000,E3*4%
if(E3>=700000,E3*3%
if(E3>=400000,E3*2%
if(E3>=200000,E3*1%
if(E3<200000,E3*0%
จากนั้นก็นำสูตรทั้งหมดมารวมเข้าด้วยกัน ในแต่ละเงื่อนไขให้คั่นด้วยคอมม่า วงเล็บปิดด้านท้าย ต้องสัมพันธ์กับวงเล็บเปิดด้านหน้า เช่น เปิด 5 ก็ต้องปิด 5 แล้วก็กด Enter เสร็จแล้วก็อปปี้ ไปจนถึงเซลล์ F14
=if(E3>=1000000,E3*4%,if(E3>=700000,E3*3%,if(E3>=400000,E3*2%,if(E3>=200000,
E3*1%,if(E3<200000,E3*0%)))))
7. การคำนวณรวมเงินในเซลล์ G3 เงินเดือน+เบี้ยเลี้ยง+ค่าคอมฯ ใช้สูตร =B3+D3+F3
8. คำนวณยอดรวมทั้งหมดด้านล่างด้วย เพื่อจะได้ทราบว่าในแต่ละเดือนจะจ่ายเงินให้พนักงาน เท่าไรบ้าง เช่น ยอดรวมเงินเดือนทั้งหมด 102,500 บาท เบี้ยเลี้ยง 34,500 บาท เป็นต้น
9. ในการแปลงข้อความเป็นประโยคทางคณิตศาสตร์ อาจใช้ตัวอย่างต่อไปนี้เป็นเกณฑ์ก็ได้ โดย จะมีความแตกต่างกันดังนี้
1. น้อยกว่า 5000 <5000 (เป็นตัวเลขตั้งแต่ 4999, 4998 … ลงไป)
2. มากกว่า 5000 >5000 (เป็นตัวเลขตั้งแต่ 5001, 5002 …. ขึ้นไป)
3. 5000 ขึ้นไป >=5000 (เป็นตัวเลขตั้งแต่ 5000, 5001… ขึ้นไป)
4. 5000 ลงไป <=5000 (เป็นตัวเลขตั้งแต่ 5000, 4999… ลงไป)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น