หน่วยที่ 5


หน่วยที่ 5 การใช้คอมพิวเตอร์ในงานด้านการเงิน

การใช้คอมพิวเตอร์ในด้านการเงินการธนาคาร
ในการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในงานธนาคารนั้น แต่ละธนาคารอาจระบุวัตถุประสงค์แตกต่างกันออกไป เช่น บางธนาคารนำคอมพิวเตอร์มาใช้ เพื่อเปลี่ยนทัศนคติของประชาชนต่อธนาคารนั้น จากธนาคารโบราณมาเป็นธนาคารทันสมัย บางธนาคารนำคอมพิวเตอร์มาใช้ เพื่อพยายามดำรงความเป็นผู้นำในด้านเทคโนโลยี บางธนาคารนำคอมพิวเตอร์มาใช้ เพื่อให้สามารถขยายงานได้รวดเร็ว และควบคุมการบริหารงานให้รัดกุมขึ้น เป็นต้น ในธุรกิจการธนาคารจะแข่งขันการนำคอมพิวเตอร์มาใช้เพื่อให้บริการแก่ลูกค้าได้สะดวกและรวดเร็ว โดยสรุปแล้ว อาจจะกล่าวได้ว่า สถาบันการเงินต่างๆ ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ ได้แข่งขันกันนำคอมพิวเตอร์มาใช้ เพื่อประโยชน์สำคัญ ๓ ประการ คือ
ประการที่หนึ่ง เพื่อช่วยให้บริการลูกค้าประจำได้สะดวกรวดเร็ว
ประการที่สอง เพื่อให้สามารถเสนอบริการใหม่ๆ ในรูปแบบ และเวลาที่ลูกค้าประจำต้องการ และให้ลูกค้าประจำสามารถเข้าใจได้โดยง่ายและประการที่สาม เพื่อช่วยให้สามารถบรรลุวัตถุประสงค์สองข้อแรก โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายมากเกินไป งานสถาบันการเงินการธนาคารที่นำคอมพิวเตอร์มาช่วยนั้น นอกจากด้านการบัญชี และด้านการบริหาร ซึ่งอาจคล้ายคลึงกับการใช้คอมพิวเตอร์ในหน่วยงานอื่นๆ แล้ว ก็มีงานโดยตรง ของสถาบันการเงิน และการธนาคาร เช่น การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการฝากถอน หรือพนักงานรับและจ่ายเงิน (teller) ใช้คอมพิวเตอร์ในการโอนเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์ การหักบัญชีอัตโนมัติ ด้านสินเชื่อ ด้านแลกเปลี่ยนเงินตรา บริการข่าวสารการธนาคารบริการฝากถอนเงินนอกเวลา และบริการอื่นๆ
การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในบริการฝากถอนนั้น อาจรวมการฝากถอนทุกประเภท เช่น เดินสะพัด เผื่อเรียก สะสม และประจำ เป็นต้น โดยมีเทอร์มินัลติดตั้งอยู่ที่โต๊ะพนักงานฝากถอน เมื่อลูกค้ามาฝากหรือถอน พนักงานก็สามารถใช้เทอร์มินัลสอบถามสถานภาพบัญชี และลงบัญชีได้สะดวกรวดเร็ว การใช้คอมพิวเตอร์ในการโอนเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์มีประโยชน์สำคัญ ๓ ประการคือ ประการแรก เพื่อลดต้นทุน โดยตัดค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับกระดาษ ประการที่สอง เพื่อความปลอดภัยในการโอนเงิน โดยป้องกันเช็คสูญหาย หรือการปลอมแปลงเช็ค และประการที่สาม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการ โดยทำให้สามารถโอนเงินได้ภายในเวลาเพียงไม่กี่นาที แทนที่จะต้องเสียเวลานานเป็นวัน
คอมพิวเตอร์มีบทบาทสำคัญมากในการบริการด้านสินเชื่อการใช้คอมพิวเตอร์ในการโอนเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์นี้ อาจจะทำได้ทั้งภายในประเทศ และระหว่างประเทศ เช่น ระบบโอนเงินข้ามประเทศ หรือระบบสวิฟต์ (swift; society for worldwide interbank financial telecommunication) มีสมาชิกกว่า ๑,๑๐๐ ธนาคารในกว่า ๕๐ ประเทศ อย่างไรก็ตาม แม้จะมีการโอนเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์ได้ ก็ยังมีผู้ใช้การโอนเงินแบบกระดาษเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก กระดาษที่ใช้นั้น อาจจะเป็นเช็คส่วนตัว บริษัท ธนาคารหรือดราฟต์ ต้องส่งทางไปรษณีย์หรือส่งด้วยมือ ต้องไปเข้าบัญชี แยกประเภท แยกธนาคาร แล้วส่งไปหักบัญชีจากธนาคาร ซึ่งเจ้าของเช็คบัญชีไว้ เมื่อมีเอกสารการเงินมากๆ ก็จำเป็นต้องใช้คอมพิวเตอร์ช่วยจัดแยกประเภทเอกสาร แยกธนาคาร และหักบัญชีให้ได้ โดยรวดเร็ว และถูกต้อง เช่น ระบบหักบัญชีอัตโนมัติของอังกฤษ ช่วยหักบัญชี ๔๘๐ ล้านรายการต่อปี และสามารถจะขยายให้รับงานหักบัญชีแบบอัตโนมัติได้ถึง ๒,๐๐๐ ล้านรายการต่อปี
การใช้คอมพิวเตอร์ในด้านสินเชื่อ ช่วยให้สามารถวิเคราะห์สินเชื่อได้อย่างรวดเร็วว่า ควรให้ลูกค้ารายใดกู้หรือไม่ ช่วยให้สามารถบริหารงานด้านสินเชื่อได้อย่างสะดวกรวดเร็ว เช่น ช่วยคำนวณดอกเบี้ย ออกใบกำกับสินค้า และออกใบเสร็จรับเงิน เป็นต้น
การใช้คอมพิวเตอร์ในด้านการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ก็อาจจะเริ่มด้วยการสอบถามอัตราแลกเปลี่ยนในต่างประเทศ คำนวณเงินจากสกุลหนึ่งไปเป็นอีกสกุลหนึ่ง จัดทำบัญชีรายการแลกเปลี่ยน และบัญชีเช็คเดินทาง จนถึงการชี้แนะว่า ควรจะเก็บเงินสกุลใดไว้มากน้อยเท่าใด เป็นการเก็งกำไร ถ้าสามารถวิเคราะห์แนวโน้มของอัตราแลกเปลี่ยนได้ โดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วย
การใช้คอมพิวเตอร์ให้บริการข่าวสารการธนาคารนั้นเป็นการขยายข่าวสารการธนาคาร ด้านคอมพิวเตอร์ เช่น ข่าวสารเกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ย ข่าวการเงิน ข่าวเศรษฐกิจ ข่าวตลาดการเงิน ข่าวตลาดหลักทรัพย์ ข่าวตลาดน้ำมัน และข่าวการเดินเรือ ตัวอย่างบริการข่าวสาร การธนาคารที่มีใช้กันทั่วโลก คือ รอยเตอร์มอนิเตอร์ (Reuter monitor)

เครื่องบริการเงินด่วน (ATM)
เครื่องบริการเงินด่วน (ATM) การใช้คอมพิวเตอร์ในบริการฝากถอนเงินนอกเวลานั้น มีใช้กันทั้งในต่างประเทศ และในประเทศไทย ซึ่งเรียกชื่อกันว่า บริการเงินด่วน หรือบริการเอทีเอ็ม (ATM)
ส่วนการใช้คอมพิวเตอร์ในด้านอื่นๆ ของธนาคารก็มีอีกหลายอย่าง เช่น บริการโอนเงิน ณ จุดขาย บริการ ธนาคารในบ้าน และบริการธนาคารทางโทรศัพท์ เป็นต้น

การคิดดอกเบี้ยเงินฝากของธนาคาร
การฝากเงินกับธนาคาร ผลตอบแทนที่เราจะได้รับคือดอกเบี้ย ซึ่งธนาคารจะนำดอกเบี้ยเข้าบัญชีให้ปีละสองครั้ง ในช่วงกลางปีและปลายปี โดยการคิดให้ดอกเบี้ยของแต่ละธนาคารจะมีรูปแบบการคิดที่แตกต่างกัน แต่หลักๆแล้วการคิดดอกเบี้ยของธนาคารจะมี 4 วิธี คือ การคำนวณจากยอดค้างต่ำสุดในแต่ละเดือน การคำนวณแบบเข้าก่อนออกก่อน (FIFO) การคำนวณแบบเข้าหลังออกก่อน (LIFO) และการคำนวณทุกวัน ปัจจุบันธนาคารทุกแห่งได้ใช้คอมพิวเตอร์คำนวณดอกเบี้ยให้แก่ลูกค้าและเมื่อครบกำหนดระยะเวลาจะนำเงินเข้าบัญชีให้เราโดยอัตโนมัติ ซึ่งธนาคารหลายแห่งจะใช้วิธีการคำนวณดอกเบี้ยเงินฝากทุกวัน โดยระบบคอมพิวเตอร์จะคำนวณดอกเบี้ยให้แก่ลูกค้าทุกๆสิ้นวัน นั่นหมายความว่า หากเราฝากเงินค้างคืน ก็จะได้รับดอกเบี้ย และการคิดดอกเบี้ยสามารถคำนวณได้จากสูตร คือดอกเบี้ย = เงินต้น*(จำนวนวันที่ฝาก/365)*(อัตราดอกเบี้ย/100)

ตัวอย่างการคำนวณดอกเบี้ย
สมมุติว่าเราฝากเงินเข้าบัญชีเงินฝากประจำจำนวน 200,000 บาทโดยเริ่มฝากในวันที่ 15 มกราคม ฝากจำนวนสามเดือน ซึ่งจะครบกำหนดในวันที่ 15 มีนาคม และในปีเดือนกุมภาพันธ์มี 28 วัน อัตราดอกเบี้ยคือ 1.25 ต่อปี ซึ่งการนับวันจะนับเริ่มจากวันที่ 15 ธันวาคมจนถึงวันครบกำหนดคือ 15 มีนาคม จะได้จำนวนดังนี้คือ ตั้งแต่วันที่ 15 มกราคมถึงสิ้นเดือนจำนวน 16 วัน, 1 กุมภาพันธ์ ถึงสิ้นเดือน 28 วัน , 1 มีนาคมถึงวันที่ 15 คือ 15 วัน ดังนั้นจำนวนวันที่ใช้คือ 16+28+15=59 วัน (หากปีไหนเดือนกุมภาพันธ์มี 29 วันจะใช้ตัวหารคือ 366)
ดังนั้น
ดอกเบี้ย = 200,000*(59/365)*(1.25/100) บาท
ดอกเบี้ย = 404.1096 บาท
โดยจะคำนวณถึงทศนิยมสี่หลักแต่เมื่อจะยกไปทำในขั้นตอนต่อไปจะหักหลักที่สามและสี่ออกโดยไม่ทำการปัดขึ้นตามปกติ ดังนั้นดอกเบี้ยที่จะนำไปคำนวณภาษีคือ 404.10 บาท
ภาษี 15 % คือ 404.10*(15%) = 60.6150 บาท
ภาษีที่ใช้คิดจริงคือ 60.61 บาท
ดอกเบี้ยที่จะได้รับจริงคือ 404.10-60.61 = 343.49 บาท
ดังนั้นหากเราฝากเงินครบสามเดือนจะได้รับดอกเบี้ยหลังหักภาษีคือ 343.49 บาท
แต่ในปัจจุบันนี้ธนาคารหลายแห่งได้ออกโปรโมชั่นแบบขั้นบันไดและมีอัตราดอกเบี้ยในระยะเวลาสุดท้ายสูงๆเช่น 6 เดือนแรกดอกเบี้ย 1.75% 6 เดือนต่อมาดอกเบี้ย 4.5% และ 6 เดือนสุดท้ายดอกเบี้ย 8% เป็นต้น ทำให้ผู้บริโภคอย่างเราสับสนว่า ตกลงแล้วเราจะได้ดอกเบี้ยเท่าไหร่กันแน่ ซึ่งเราสามารถประยุกต์การคำนวณดอกเบี้ยข้างบนนี้ได้โดยแยกการคำนวณเป็นช่วงเวลา และหาว่าช่วงเวลาต่างๆ เราจะได้รับดอกเบี้ยเท่าไหร่ แล้วนำดอกเบี้ยในแต่ละช่วงมารวมกันเพื่อหาดอกเบี้ยที่เราจะได้รับจริงๆ ซึ่งจะทำให้เราเปรียบเทียบในแต่ละธนาคารได้ง่ายขึ้น ซึ่งวิธีการคำนวณจะเป็นดังนี้

ตัวอย่างการคำนวณดอกเบี้ย
ธนาคารแห่งหนึ่งประกาศว่า เงินฝากประจำ 12 เดือน จะให้อัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่ 8% ต่อปีโดยในรายละเอียดนั้นมีการคำนวณดอกเบี้ยเป็นขั้นบันไดคือ ในเดือนที่ 1-3 ดอกเบี้ยร้อยละ 1.5 ต่อปี เดือนที่ 4-6 ดอกเบี้ยร้อยละ 3.5 ต่อปีเดือนที่ 7-9 ร้อยละ 4 ต่อปีและ เดือนที่ 10-12 ร้อยละ 8 ต่อปี ซึ่งหากเราฝากเงินจำนวน 200,000 บาทตั้งแต่วันที่ 1 มกราคมเราจะได้รับดอกเบี้ยดังนี้ และปีนั้นมีเดือนกุมภาพันธ์ 28 วัน
เดือน มกราคม-มีนาคม เวลา 90 วัน จะได้รับดอกเบี้ย
ดอกเบี้ย = 200,000*(90/365)*(1.5/100) บาท
ดอกเบี้ย = 739.7260 บาท
เดือน เมษายน ? มิถุนายน เวลา 91 วัน
ดอกเบี้ย = 200,000*(91/365)*(3.5/100) บาท
ดอกเบี้ย = 1,745.2055 บาท
เดือน กรกฎาคม-กันยายน เวลา 92 วัน
ดอกเบี้ย = 200,000*(92/365)*(4/100) บาท
ดอกเบี้ย = 2,016.4384 บาท
ตุลาคม-ธันวาคม เวลา 92 วัน
ดอกเบี้ย = 200,000*(92/365)*(8/100) บาท
ดอกเบี้ย = 4,032.8767 บาท
รวม ดอกเบี้ยรับทั้งหมดคือ 8,534.24 บาท
หักภาษี 15% คือ 8,534.2466 *15% = 1,280.13 บาท
คงเหลือรับ 7,254.11 บาท
ระบบสารสนเทศด้านการเงิน (Financial Information System)
       ระบบสารสนเทศด้านการเงิน จะเกี่ยวกับสภาพคล่อง (Liquidity) ในการดำเนินงาน เกี่ยวข้องกับการจัดการเงินสดหมุนเวียน ถ้าธุรกิจขาดเงินทุนอาจก่อให้เกิดปัญหาขึ้นทั้งโดยตรงและอ้อม โดยที่การจัดการทางการเงินจะมีหน้าที่สำคัญ 3 ประการ ดังนี้
1. การพยากรณ์ (Forecast) คือการศึกษาวิเคราะห์ การคาดการณ์ การกำหนดทางเลือก และการวางแผนทางด้านการเงินของธุรกิจ เพื่อใช้ทรัพยากรทางการเงินให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยนักการเงินสามารถใช้หลักการทางสถิติและแบบจำลองทางคณิตศาสตร์มาประยุกต์ การพยากรณ์ทางการเงินจะอาศัยข้อมูลทั้งภายในและภายนอกองค์การ ตลอดจนประสบการณ์ของผู้บริหารในการตัดสินใจ
2. การจัดการด้านการเงิน (Financial Management) คือการบริหารเงินให้เกิดประโยชน์สูงสุด เช่น รายรับและรายจ่าย การหาแหล่งเงินทุนจากภายนอก เพื่อที่จะเพิ่มทุนขององค์การ โดยวิธีทางการเงิน เช่น การกู้ยืม การออกหุ้น หรือตราสารทางการเงิน
3. การควบคุมทางการเงิน (Financial Control) เป็นการติดตามผล ตรวจสอบ และประเมินความเหมาะสมในการดำเนินงานว่าเป็นไปตามแผนที่กำหนดหรือไม่ ตลอดจนวางแนวทางแก้ไขหรือปรับปรุงให้การดำเนินงานทางการเงินของธุรกิจมีประสิทธิภาพ โดยที่การตรวจสอบและการควบคุมทางการเงินของธุรกิจจะจำแนกได้ 2 ประเภท คือ
3.1 การควบคุมภายใน (Internal Control)
3.2 การควบคุมภายนอก (External Control)
               บริการธนาคารทางอินเทอร์เน็ต (internet banking) ธนาคารพาณิชย์เริ่มนำบริการธนาคารทางอินเทอร์เน็ตมาใช้ตั้งแต่
ปี พ.ศ. 2543 โดยเน้นการให้บริการด้านการทำธุรกรรมทางการเงินผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตซึ่งมีรายละเอียดการให้บริการดังต่อไปนี้
               (1) บริการเปิดบัญชี
               (2) บริการสอบถามยอดบัญชี,บริการขอรายการเดินบัญชี
                 ยอดเงินคงเหลือในบัญชีออมทรัพย์ บัญชีเดินสะพัด บัญชีฝากประจำ บัญชีเงินฝากระยะยาว สินเชื่อบุคคล Speedy Loan และสินเชื่อเพื่อการเคหะ (Mortgage) หรือ ดูใบแจ้งยอดบัตรเครดิตไทยพาณิชย์และบัตร Speedy Cash ผ่านบริการ e-Bill
                 (3) บริการโอนเงิน
                 ระหว่างบัญชีของตนเอง บัญชีบุคคลอื่นทั้งบัญชีไทยพาณิชย์ บัญชีต่างธนาคาร หรือโอน เงินต่างประเทศ
                      จุดเด่นด้านบริการ
·         สามารถสมัครใช้บริการได้ด้วยตนเองตลอด 24 ชม. โดยไม่ต้องเดินทางไปสาขา
·         เพิ่มบัญชีผู้รับโอนได้ด้วยตนเอง ด้วยระบบ One Time Password (OTP)
·         มีระบบรักษาความปลอดภัยของ ข้อมูล ด้วยการเข้ารหัสข้อมูล (Data Encryption)ด้วย Secured Socket Layer (SSL) 128 bits
·         เรียกดูใบแจ้งยอดบัตรเครดิตไทยพาณิชย์และบัตร Speedy Cash ได้ตลอดเวลาผ่านบริการ e-Bill
·         ชำระค่าสินค้า/บริการได้ถึงกว่า 1,000 กว่าร้านค้า รวมถึงบริการเติมเงินมือถือ
·         โอนเงินระหว่างบัญชีตนเอง บุคคลอื่นใน SCB และต่างธนาคารแบบเข้าบัญชีทันที/ตั้งเวลาหักบัญชีล่วงหน้า
                 (4) บริการชำระค่าสินค้าและบริการ
             ทั้งเติมเงินโทรศัพท์มือถือ บัตรเครดิต ค่างวดเงินกู้/เช่าซื้อ ค่าสาธารณูปโภคต่าง ๆ ค่า บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ บริการจ่ายค่ากวดวิชาออนไลน์ ฯลฯ
               (5) สมัครบริการบัตรเครดิตและอนุมัติเบื้องต้น
               เป็นการสมัครผ่านระบบอินเตอร์เน็ต แทนการไปสมัครที่ธนาคาร โดยทำการกรอกข้อมูล ผ่านระบบออนไลน์ทั้งหมด และรอการอนุมัติ จากทางธนาคาร โดยไม่ต้องออกไปข้างนอก

ระบบการชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์(E-Payment)
ในชีวิตประจำวันของประชาชนมีความเกี่ยวข้องกับการชำระเงินอยู่ทุกวัน ไม่ว่าจะเป็นการชำระเงินเพื่อซื้อสินค้า/บริการ การโอนเงิน หรือการทำธุรกรรมการเงินอื่นใด การขยายตัวของเศรษฐกิจและความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีเป็นปัจจัยที่ส่งผลให้การบริการด้านการชำระเงินมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องโดยรูปแบบการชำระเงินมีความหลากหลายและซับซ้อนมากขึ้น การให้บริการมีความรวดเร็วและคล่องตัวมากขึ้นสอดคล้องกับความต้องการของภาคธุรกิจและประชาชน และมีผู้ให้บริการรายใหม่ๆ เกิดขึ้น รวมทั้งมีการนำเอากระบวนการชำระเงินเข้าไปในระบบอิเล็กทรอนิกส์ หรือเรียกกันว่า ระบบการชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์ (E-Payment)
Electronic Payment system (ระบบชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์) คือ กระบวนการส่งมอบหรือโอนสื่อการชำระเงินเพื่อชำระราคา   โดยผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น อินเทอร์เน็ต คอมพิวเตอร์ ระบบสื่อสารโทรคมนาคม โทรสาร โทรศัพท์มือถือ เป็นต้น

ขั้นตอนการชำระเงิน
1.ตกลงซื้อสินค้า กรอกข้อมูลบัตรเครดิต *ข้อมูลส่วนนี้ทางร้านไม่สามารถเห็นได้
2.ส่งข้อมูลไปยัง Acquiring Bang (ธนาคารที่ฝ่ายร้านค้าใช้บริการอยู่)
3.Acquiring Bang ทำการตรวจสอบมายังธนาคารผู้ออกบัตร ว่าบัตรเป็นของจริงและสามารถใช้ได้
4.Acquiring Bang ทำการเรียกเก็บเงินจากธนาคารผู้ออกบัตรz
5.ธนาคารผู้ออกบัตรโอนเงินไปยัง Acquiring Bang เข้าสู่บัญชีร้านค้า
6.ส่งข้อมูลการชำระกลับไปยังร้านค้า
7.ร้านค้าส่งข้อมูลการชำระกลับไปยังลูกค้า เพื่อยืนยันการสั่งซื้อ
(E-Payment) มีกระบวนการการชำระเงินด้วยบัตรเครดิตบนอินเตอร์เน็ต ซึ่งเป็นที่นิยมกันมากที่สุด ดังนี้
1.สั่งซื้อและส่งข้อมูลเกี่ยวกับบัตรเครดิตไปให้ผู้ขาย
2.ผู้ขายยืนยันส่งข้อมูลการสั่งซื้อกลับมายังผู้ซื้อ
3.ผู้ขายรับข้อมูลการสั่งซื้อ(มองไม่เห็นเลขบัตรเครดิต)
4.ผู้ขายส่งข้อมูล Encrypted Payment ไปยังเครื่องบริการด้านการจ่ายเงินทาง online (Cyber Cash Server)
5.Cyber Cash Server รับข้อมูลผ่านทาง Fire wall ถอดรหัสข้อมูลลูกค้าและส่งไปยังธนาคารผู้ขายและผู้ซื้อ
6.ธนาคารผู้ขายร้องขอให้ธนาคารผู้ซื้อรับจ่ายเงินตามจำนวนเงินตามยอดบัตรเครดิต
7.ธนาคารผู้ซื้อตรวจสอบข้อมูล แล้วส่งกลับไปว่าอนุมัติหรือไม่ และ transfer ยอดเงินให้ผู้ขาย
8.Cyber Cash Server รับข้อมูลส่งต่อไปยังผู้ขายเพื่อส่งข้อมูลไปยังผู้ซื้อต่อไปปัจจัยสู่ความสำเร็จ

ปัจจัยแห่งความสำเร็จมี 4 ประเด็น คือ
(1) การบริการลูกค้า เทคโนโลยีต้องเข้าถึงได้ง่ายและเป็นมิตรกับประชาชน ลดขั้นตอนทางราชการที่ยุ่งยากซับซ้อน ให้สารสนเทศที่ทันสมัยและตรงกับความต้องการ
(2) การออกแบบและประเมินผล บริการต้องมีการบริหารจัดการที่ดีและรักษาระบบให้มีเสถียรภาพแม้ในภาวะวิกฤติ กำหนดนโยบายและกระบวนการรับข้อร้องเรียนที่ชัดเจน ติดตามผลและปรับปรุงระบบช่วยสร้างการมีส่วนร่วมอย่างต่อเนื่อง
(3) ความมั่นคง-ปลอดภัย บริการต้องอำนวยความสะดวกในการทำธุรกรรมออนไลน์ และให้ความสำคัญสูงสุดต่อความปลอดภัยในข้อมูลส่วนบุคคล
(4) การเห็นคุณค่าและความสำคัญ บริการที่ดีต้องถูกให้ความสำคัญในลำดับสูงสุดจากทุกภาคส่วน ผู้นำประเทศ นักการเมืองท้องถิ่น เจ้าหน้าที่ระดับสูง และพนักงานของรัฐ ต้องให้การสนับสนุนกระบวนการเรียนรู้และตอบข้อสงสัยแก่ประชาชนผ่านการสื่อสารสองทางอย่างประสิทธิภาพ
(5) การรักษาความปลอดภัย

ความต้องการการรักษาความปลอดภัย (security requirements) มีองค์ประกอบ ดังนี้
1.ความสามารถในการระบุตัวตนได้ (Anthentication)
2.ความเป็นหนึ่งเดียวของข้อมูล (Integriry)
3.ความไม่สามารถปฏิเสธได้ (Non-repudiation)
4.สิทธิส่วนบุคคล (Privacy)
 วิธีการรักษาความปลอดภัย
• การใช้รหัส (Encryption)
• ใบรับรองทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic certificate)
• โปรโตคอล (Protocols)

ประโยชน์ e-payment ในองค์กร

1.การสั่งชำระเงิน และการรับชำระเงินมีความสะดวกมากยิ่งขึ้น
         ด้วยระบบ E – Pay ท่านไม่จำเป็นต้องเดินทางไปชำระเงินด้วยวิธีการเดิมๆ อีกต่อไป ท่านสามารถประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายต่างๆ เช่น ค่าใช้จ่ายด้านบุคคลากร และเวลาที่เสียไปจากการเดินทางรวมถึงความเสี่ยงจากการถือเงินสด เป็นต้น
2.เพิ่มประสิทธิภาพด้านการบริหารการเงิน
         เนื่องจากการบริการ E – Pay เป็นการชำระเงินแบบ Online และ Real Time จึงเพิ่มความสะดวกในกรณีที่ท่านต้องการสั่งชำระเงินเป็นกรณีเร่งด่วนโดยไม่จำเป็นต้องเดินทางเพื่อไปชำระเงินเหมือนระบบเดิม โดยผู้รับเงินสามารถรับเงินและนำเงินไปบริหารต่อได้ภายในระยะเวลาไม่เกิน 3 นาที โดยไม่ต้องรอการเคลียร์ริ่งของธนาคาร ถือเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารเงินสดของบริษัทอีกทางหนึ่ง
3.ลดความผิดพลาดในการกรอกข้อมูลการทำรายการ
        ระบบ E – Pay จะดึงข้อมูลจากฐานข้อมูลมาใช้ เช่น เลขที่บัญชีผู้มีอำนาจในการสั่งจ่าย ,
วงเงินในการสั่งจ่าย เป็นต้นทำให้ท่านสามารถทำงานได้รวดเร็วและลดข้อผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นจากการจัดพิมพ์เอกสารได้ทำให้การดำเนินงานทางด้านบัญชีและการเงินของบริษัทจึงมีความสะดวก รวดเร็ว
และถูกต้องมากยิ่งขึ้น
 4.การยืนยันการตัดบัญชีและการนำเงินเข้าบัญชี
ไม่ว่าท่านจะเป็นผู้สั่งชำระเงิน หรือรับชำระเงินก็จะได้รับข้อความยืนยันการตัดบัญชี (Debit Advice) และข้อความยืนยันการนำเงินเข้าบัญชี (Credit Advice) จากธนาคารผ่านระบบ E – Payเมื่อรายการชำระเงินเสร็จสมบูรณ์โดยท่านไม่ต้องสอบถามผลของการทำรายการไปที่ธนาคารโดยตรง
5.เสริมสร้างความคล่องตัวในการทำงาน
ท่านสามารถเลือกใช้บริการกับธนาคารต่างๆ ที่เข้าร่วมให้บริการ หรือเปลี่ยนแปลงไปใช้ธนาคารอื่นในภายหลังก็ทำได้อย่างสะดวกโดยไม่ต้องเปลี่ยนโปรแกรมหรือขั้นตอนการทำงานแต่อย่างใด

การบริหารจัดการคลังสินค้า และสินค้าคงคลัง
บริษัทฯให้บริการคลังสินค้าในลักษณะที่จะทำให้ลูกค้าสามารถ เพิ่มขึดการแข่งขันจากต้นทุน ซัพพลายเชนที่สามารถควบคุมได้ ความชัดเจนของข้อมูลและความไวในการตอบสนอง บริษัทสามารถลดเวลาในการตักเคลื่อนย้ายสินค้าและการจัดการสินค้าในคลังลง 30% ถึง 50% กระบวนการการจัดการคลังสินค้าของบริษัทฯสามารถควบคุมความแม่นยำของสินค้าคงคลัง ของลูกค้าได้ในระดับ 99.99% ซึ่งทำให้ต้นทุนลดลงและสามารถส่งสินค้าให้ลูกค้า ตามใบสั่งได้ครบถ้วนมากขึ้น เวลาที่ใช้ในการจัดส่งก็ลดลงจากสัปดาห์เป็นชั่วโมง เป็นต้น ลูกค้าทุกรายมีความต้องการที่แตกต่างกัน เนื่องจากความต้องการของตลาดและข้อจำกัด ด้านการผลิตที่ไม่เหมือนกัน บริษัทฯสามารถให้บริการ จัดกลยุทธ์คลังสินค้า ในลักษณะที่ให้ผลประโยชน์อย่างเต็มที่ต่อประสิทธิภาพ ทางซัพพลายเชนทั้งหมดของลูกค้า
บริษัทฯมีศูนย์กระจายสินค้า 3 แห่ง ศูนย์แรกตั้งอยู่กลางใจเมืองในซอยกล้วยน้ำไท ศูนย์ที่สองอยู่ที่ราษฎ์บูรณะ และศูนย์หลักที่ถนนกิ่งแก้ว ซอย 21 ติดกับสนามบินสุวรรณภูมิ หรือประมาณ 12 กิโลเมตรไปทางตะวันออก ของกรุงเทพฯ บนถนนสายบางนา-ตราด ด้วยขนาดพื้นที่จัดเก็บรวม กันทั้งหมดมากกว่า 60,000 ตร.ม. ศูนย์กระจายสินค้าทั้งหมด มีสิ่งอำนวยความสะดวกที่มีคุณภาพ ที่สามารถใช้ร่วมกันได้ มีระบบป้องกันอัคคีภัย เต็มรูปแบบ รวมไปถึงกล้องวงจรปิดและระบบเตือนภัย ด้วยระบบการจัดการคลังสินค้า ที่มีความทันสมัยเต็มรูปแบบชื่อ ISIS และการติดต่อสื่อสารข้อมูลผ่านระบบอิเลคโทรนิคส์ หรือ EDI กับลูกค้า ทำให้การจัดการใบคำสั่งซื้อต่างๆของลูกค้า และข้อมูลสำหรับผู้บริหารสามารถทำให้เกิดขึ้น ได้อย่างตรงเวลา

การส่งสินค้าไปยังจุดจ่ายทันทีที่รับสินค้า (Cross-docking)
การจัดการสินค้าแบบ Cross-dock หรือการส่งสินค้าไปยังจุดจ่ายทันทีที่รับสินค้าโดยไม่เก็บสต๊อก ในคลังทำให้สินค้าของลูกค้าเคลื่อนที่ได้อย่างต่อเนื่อง กระบวนการดังกล่าวจะสามารถ ทำได้สำเร็จนั้นต้องอาศัยความแม่นยำในการกำหนดเวลาเข้าออก ของทั้งตัวรถบรรทุกและตัวสินค้า ให้เกิดขึ้นพร้อมกัน บริษัทฯมีประสพการณ์ในการสร้างระบบการจัดการรูปแบบนี้ มาในสถานการณ์ที่มีความยากในระดับสูง

การบริหารจัดการสินค้าคงคลังทันทีที่รับสินค้าเข้ามาในคลังสินค้า
ระบบจัดการคลังสินค้าที่บริษัทฯมีอยู่จะทำการเลือกตำแหน่งที่เก็บในคลังสินค้า ที่เหมาะสมที่สุดสำหรับสินค้านั้นด้วยความระมัดระวังและภายในเวลาอันเหมาะสม เช่น ระบบจะพิจารณาถึงความถื่ของการเคลื่อนไหวเข้าออกของสินค้านั้นเป็นเกณฑ์ในการกำหนดตำแหน่งที่เก็บ ซึ่งการกระทำดังกล่าวอย่างถูกต้อง จะช่วยลดเวลาและแรงงานในการเดินทาง ไปตักสินค้าสินค้านั้นจากที่เก็บได้อย่างมาก การใช้ระบบการจัดการสินค้าคงคลังช่วยเพิ่มความแม่นยำ ในการคุมสินค้าอยู่ที่ระดับสูงถึง 99.99% นอกจากนี้ ระบบยังสามารถออกแบบให้รองรับการคุมสต๊อก ระดับที่ระเอียดมากขึ้นในรูปแบบของ lot number เพื่อความสะดวกในการตรวจสอบ เมื่อมีการเรียกคืนสินค้านั้น ซึ่งบริษัทฯมีเครื่องมือและกระบวนการในการจัดการความต้องการดังกล่าวด้วย




**************************************



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น